สมัยล้านนา หรือเชียงแสน เริ่มต้นที่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๓
ล้านนาตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบน หมายรวมพื้นที่ ๘ จังหวัดอันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยมีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง “ล้านนา” หมายถึง พื้นที่กว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ มีผืนนามากมายนับได้เป็นล้านแปลง มีความหมายตรงกับคำในภาษาบาลีว่า เขตฺตทสฺลกฺข ที่ปรากฏในเอกสารตำนานพญาเจี๋อง และคำว่า ทศลักษณ์เกษตร ซึ่งเป็นคำท้ายพระนามพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทั้งสองคำแปลว่า สิบแสนนา หรือ ล้านนา
สารบัญ[ซ่อนสารบัญ] |
[แก้ไข]ประวัติศาสตร์สมัยล้านนา
ชื่อ“ล้านนา” เชื่อกันว่าคู่มากับชื่อ “ล้านช้าง” (หรือที่รู้จักกันดีว่าหมายถึงประเทศลาว) ด้วยปรากฏชื่อทั้งสองจารอยู่ใน ศิลาจารึกของ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ลาวเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๐๙๖ นอกจากนี้ “ล้านนา” ยังมีความหมายสอดคล้องกับระบบการปกครองภาคเหนือสมัยนั้นที่ใช้จำนวนนากำหนดฐานะความสำคัญของเมือง เช่น พันนา แสนนา สิบสองพันนา เป็นต้น ความเป็นมาของดินแดนล้านนาพบว่าเคยมีร่องรอยมนุษย์อยู่อาศัยมาก่อนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่และโลหะตามลำดับ หลักฐานทางโบราณคดีพบว่าคนก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้อาศัยอยู่ตามที่ราบลอนลูกคลื่น ที่ราบริมน้ำ รวมทั้งบนที่สูงตามสันเขาและตามถ้ำในเขตจังหวัดต่างๆเช่นแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปางและน่าน มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีตั้งแต่รู้จักการทำเครื่องมือหินกระเทาะ เครื่องมือหินขัด เครื่องมือโลหะ เครื่องประดับที่ทำมาจากโลหะหรือแก้วและหินมีค่า นอกจากนี้ยังรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาตลอดจนมีพิธีกรรมการฝังศพ และรู้จักการเกษตรกรรมปลูกข้าวที่เก่าที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค
จากหลักฐานดังกล่าวทำให้เราพอทราบเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์บ้าง แต่เรื่องราวเมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์แรกก่อร่างสร้างเมืองของดินแดนแถบนี้นั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถกำหนดว่าเริ่มเมื่อใดแน่ การสืบค้นมักได้จากตำนานต่างๆที่คนสมัยหลังเขียนเล่าไว้เช่นตำนานจามเทวีวงศ์ (พงศาวดารหริภุญไชย ) ชินกาลมาลีปกรณ์ และ ตำนานมูลศาสนา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสถาปนาพุทธศาสนาและกำเนิดความเก่าแก่ของท้องถิ่นโดยเล่าย้อนประวัติของเมืองและผู้นำขึ้นไปถึงสมัยพุทธกาล แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่พบหลักฐานศาสนสถานหรือศาสนวัตถุตามที่กล่าวนั้นสนับสนุนได้ หลักฐานการก่อร่างสร้างเมืองมาปรากฏแน่ชัดเริ่มเมื่อราว
ในปีพ.ศ. ๑๙๘๕ ล้านนาได้มีกษัตริย์ที่มีอำนาจมากอีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๐) ล้านนาสมัยนี้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และโดยเฉพาะทางด้านการเมือง การศาสนา วรรณกรรมและศิลปกรรม ทรงตีได้เมืองแพร่ เมืองน่าน ทรงขยายอาณาเขตทางทิศเหนือถึงแคว้นไทยใหญ่ ทิศใต้จดเมืองตาก เมืองศรีสัชนาลัย ทิศตะวันออกจดแม่น้ำโขง แคว้นล้านช้างและ เมืองเชียงรุ้งสิบสองปันนา ทิศตะวันตกจดเเม่น้ำสาละวินเมืองมอญและพม่า ถือได้ว่าเป็นยุคทองของล้านนาโดยแท้ ทรงโปรดให้มีการสังคยนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งที่ ๘ในพระศาสนาและโปรดให้สร้างรวมทั้งปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆอีกมากมาย
กษัตริย์องค์ต่อๆมาก็ยังคงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเช่น พระเมืองแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๘) ทรงโปรดให้สร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น แต่นับตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๐๖๙ เป็นต้นมา ล้านนาก็เริ่มเสื่อมอำนาจลง และได้ตกอยู่ใต้อำนาจของพม่าในรัชกาลพระเจ้าเมกุฏิตั้งแต่พ.ศ. ๒๑๐๑ และต่อเนื่องมาอีก ๒๐๐ ปีโดยมีช่วงเวลาสั้นๆอยู่ใต้อำนาจของ กรุงศรีอยุธยา จนพ.ศ. ๒๓๑๗ พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงทรงยึดเมืองเชียงใหม่เข้ากับพระราชอาณาจักรสยามได้ นับระยะเวลา ราชวงศ์มังราย ปกครองล้านนารวม ๒๖๒ ปี
[แก้ไข] โบราณวัตถุสมัยล้านนาหรือเชียงแสน
คำนิยาม “ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสน” “ศิลปะเชียงแสน” เป็นคำเดิม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกำหนดขึ้นเพื่อใช้เรียกลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปแบบหนึ่งที่มีชายสังฆาฏิสั้น ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ พระวรกายอวบอ้วน นิยมประทับนั่งปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ที่ทรงพบที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายเป็นครั้งแรกว่า “ศิลปะเชียงแสน” ต่อมาคำนี้ได้แพร่หลายและใช้รวมเรียกลักษณะศิลปกรรมทั้งหมดที่พบทางภาคเหนือ
[แก้ไข] ศิลปะเชียงแสน
แต่ปัจจุบันนักวิชาการหลายท่านได้เสนอความเห็นว่า คำว่า ศิลปะเชียงแสน นั้นมีข้อจำกัดทั้งในด้านความหมายของพื้นที่และผลงานศิลปกรรม ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้ใช้คำว่า “ศิลปะล้านนา” จะเหมาะกว่า ทั้งนี้เพื่อให้ได้ความหมายครอบคลุมศิลปกรรมทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในดินแดนล้านนาทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถแยกเรียกเป็นสกุลช่างตามรายละเอียดที่แตกต่างกันไปเช่น ศิลปะล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่ สกุลช่างน่าน หรือ สกุลช่างพะเยา เป็นต้น และเฉพาะพระพุทธรูปเท่านั้นที่ยังคงนิยมเรียกว่า “แบบเชียงแสน”ตามเดิม
[แก้ไข] ประติมากรรมแบบล้านนา
เป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะหริภุญชัย มอญ พม่า จีนตอนใต้ สุโขทัย และล้านช้าง ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ประติมากรรมแบบนี้แบ่งได้ ๔ กลุ่มคือ
- กลุ่มแรก มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดีย มีรัศมีบัวตูม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุเป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้นปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่งขัดสมาธิ มักทำปางมารวิชัย บนฐานบัวคว่ำบังหงายมีเกษรบัว อายุไม่ต่ำกว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๙
- กลุ่มที่ ๒ มีอิทธิพลสุโขทัยมาปนจะมีรัศมีเป็นบัวตูมสูง บางครั้งทำเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์มักจะทำเป็นรูปไข่ ชายจีวรยาวเหนือพระนาภี ขัดสมาธิราบ บนฐานหน้ากระดาน อายุราวอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐
- แบบเชียงใหม่ เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับสุโขทัย มีการทำพระพุทธรูปทรงเครื่องด้วย อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐
- แบบพะเยา เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนา กับอยุธยา ลาว และพม่า ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑–๒๓
[แก้ไข] เครื่องปั้นดินเผา
มีการทำเครื่องปั้นดินเผาในกลุ่มวัฒนธรรมล้านนา ได้แก่ เครื่องถ้วยจากเตา สันกำแพง ลักษณะจะเป็นเครื่องเคลือบสีขาวเข้มหรือเทาจาง เคลือบสีน้ำตาล สีเขียวนวล ไม่เคลือบที่ปากและก้น เขียนลายสีเทาหรือเทาเขียว หรือลายพู่กันสีดำ น้ำตาลดำ มักทำเป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และปลาคู่ ส่วนเครื่องถ้วยจากเตาเวียงกาหลงมักเป็นภาชนะเคลือบใสขัดมัน
[แก้ไข] โบราณสถานสมัยล้านนาหรือเชียงแสน
นับตั้งแต่พญาเม็งรายทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๑๘๓๙ เป็นต้นมา แคว้นล้านนาโดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ไม่เคยถูกทิ้งร้างในประวัติศาสตร์ โบราณสถานที่เหลืออยู่จึงล้วนได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาแล้วทั้งสิ้น มีทั้งคงรูปแบบเดิมหรือต่อเติมเสริมแต่งหรือเปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ตามอาคารเหล่านี้ก็ยังคงแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับศิลปะในแว่นแคว้นต่างๆทั้งที่เกิดก่อนและร่วมสมัยกันมา เช่น หริภุญไชย มอญ-พม่า จีนตอนใต้ สุโขทัย และ ล้านช้าง โดยมีวิวัฒนาการเป็นระยะๆ
อาคารสมัยล้านนาโดยทั่วไปมักใช้อิฐเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง และคงจะมีการใช้ไม้ด้วยแต่ไม้ผุพังง่ายจึงเสื่อมสลายที่เหลืออยู่จึงเป็นส่วนเสริมหรือส่วนประดับตกแต่ง ส่วนศิลาแลงพบน้อย รวมทั้งหินก็เช่นกันใช้เฉพาะเป็นส่วนสำคัญเท่านั้น อิฐของล้านนาเผาไม่แกร่งนักเมื่อก่อเสร็จหากต้องการตกแต่งก็จะบากอิฐและฉาบผิวปั้นปูนประดับและทาสีหรือโดยเฉพาะสถูปเจดีย์ในสมัยล้านนานิยมใช้การห่อหุ้มด้วยแผ่นโลหะผสมแผ่บางเรียกว่า “จังโก” ก่อนลงรักปิดทอง ระเบียบการวางผังโดยทั่วไปจะให้ความสำคัญกับสถูปเจดีย์หรือที่นิยมเรียกว่าพระธาตุเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดในวัด นิยมสร้างกลางพื้นที่ โดยมีวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางด้านหน้า ส่วนอุโบสถไม่สำคัญนักมักมีขนาดเล็กตั้งอยู่แยกออกไป
[แก้ไข] ประเภทของโบราณสถานสมัยล้านนา
มีอยู่ด้วยกัน ๒ ประเภทคือ
๑. สถูปเจดีย์หรือพระธาตุ สร้างขึ้นสำหรับบรรจุทั้งพระบรมสารีริกธาตุ อรหันตธาตุ และอัฐิธาตุของกษัตริย์ มีด้วยกัน ๒ รูปแบบใหญ่ คือ
๑.๑ สถูปเจดีย์ทรงมณฑป หรือทรงปราสาท เจดีย์ทรงนี้ระยะแรกแสดงรูปแบบอิทธิพลหริภุญไชย (ด้วยดินแดนล้านนาแต่เดิม เคยอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง ศาสนาและวัฒนธรรมจากหริภุญไชยมาก่อน ดังนั้นศิลปกรรมหริภุญไชยจึงมีอิทธิพลต่อศาสนสถานล้านนาในระยะแรกๆ) ลักษณะสำคัญคือ เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมตั้งซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นชั้น แต่ละชั้นแต่ละด้านมีจระนำสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดเป็นทรงระฆังหลายลูกซ้อนต่อเนื่องกันเป็นชุด เจดีย์กลุ่มนี้ที่สำคัญ เช่น เจดีย์กู่คำที่วัดเจดีย์สี่เหลี่ยม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ต่อมาทรงเจดีย์มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มยกเก็จที่เรือนธาตุ และเปลี่ยนเรือนธาตุชั้นลดเป็นหลังคาลาด เหนือชั้นหลังคาลาดเป็นองค์ระฆัง ปล้องไฉน และปลียอด และพัฒนาการสุดท้ายเป็นการผสมระหว่างทรงเจดีย์ที่กล่าวมากับเจดีย์แบบจีนที่เรียกว่า “ถะ” เกิดแบบพิเศษ เช่นเจดีย์วัดตะโปทาราม และเจดีย์กู่เต้า เป็นต้น เจดีย์กู่คำ วัดเจดีย์สี่เหลี่ยม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพญามังราย ตั้งอยู่ภายในบริเวณเมืองเก่าเวียงกุมกามก่อนที่พระองค์จะเสด็จไปสร้างเมืองเชียงใหม่ รูปทรงเจดีย์คงถ่ายแบบมาจากเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมห้าชั้นซ้อนลดหลั่นในลักษณะเรียวสอบขึ้นไป แต่ละชั้นมีซุ้มจรนัมด้านละสามซุ้ม ภายในแต่ละซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน รวมทั้งสิ้น ๖๐ องค์ ต่อมาราวพ.ศ. ๒๔๔๙ คหบดีชาวพม่าชื่อหลวงโยทการพิจิตร มีศรัทธาปฏิสังขรณ์โดยเพิ่มซุ้มพระอีกด้านละหนึ่งซุ้ม รวมทั้งดัดแปลงลวดลายปูนปั้นกลายเป็นแบบพม่าไปดังปรากฏในปัจจุบัน
เจดีย์วัดป่าสัก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สร้างขึ้นโดยพระเจ้าแสนภู กษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์เม็งรายเมื่อราวพ.ศ. ๑๘๗๑ ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ กล่าวว่า “ ยังมีมหาเถรเจ้าองค์หนึ่งเอาพระบรมธาตุกระดูกตาตีนถ้ำขวา(เบี้องขวา)แห่งพระพุทธเจ้าใหญ่เท่าเม็ดถั่วกว่าง(ถั่วเขียว)เอามาแต่เขตเมืองปาฏลีบุตรนั้น เอามาสู่พระยาราชแสนดู แล้วท่านก็พร้อมกับด้วยมหาเถรเจ้าเอาไปสร้างมหาเจดีย์บรรจุไว้ภายนอกประตูเชียงแสน ด้านเวียงแห่งตนภายตะวันตก ต่อวัดพระหลวงภายนอกที่นั้นแล้ว ก็สร้างให้เป็นความกว้าง ๕๐ วา เอาไม้สักมาปลูกแวดกำแพง ๓๐๐ ต้น แล้วเรียกว่าความป่าสักแต่นั้นมาแล แล้วก็สร้างกุฎีให้เป็นทานแก่มหาเถรเจ้าตนชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์นั้น อยู่สถิตที่นั้นก็อภิเษกขึ้นเป็นสังฆราชมหาเถรอยู่ยังตราบป่าสักที่นั้น” เจดีย์วัดป่าสักเป็นเจดีย์ห้ายอดคล้ายเจดีย์เชียงยืน ที่วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน แต่มีลักษณะคลี่คลายออกไปแล้วคือ ผังส่วนล่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเตี้ยๆซ้อนลดหลั่น รองรับชั้นแถวจระนำซึ่งทั้งสี่ด้านมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนด้านละสามองค์ รวมทั้งหมด ๑๒ องค์ และยังมีจระนำเล็กอีกสี่สลับสำหรับประดิษฐานรูปเทวดายืน (ชั้นจระนำนี้มีต้นเค้าจากอิทธิพลเจดีย์กู่กุดแต่ลดชั้นเหลือเพียงชั้นเดียว) เหนือขึ้นไปเป็นฐานเขียงลดหลั่นสี่ชั้น ชั้นที่กล่าวมาเหล่านี้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากที่ปรากฏที่เจดีย์เชียงยืน พ้นจากส่วนนี้เหมือนเจดีย์เชียงยืนคือ เป็นฐานบัวรองรับเรือนธาตุสี่เหลี่ยม แต่ละด้านมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนทั้งสี่ด้าน กรอบซุ้มประดับด้วยฝักเพกาสูงแหลมลดหลั่นกันแบบศิลปะพุกามที่มีชื่อเรียกว่า เคล็ก (CLEC) ที่มุมเหนือเรือนธาตุประดับเจดีย์องค์เล็กๆ เหนือเรือนธาตุตรงกลางเป็นแท่นแปดเหลี่ยมมีบัวปากระฆังรองรับองค์ระฆังกลมที่ประดับลายรัดอก เหนือองค์ระฆังเป็นบัวกลุ่มซ้อนกันขึ้นไปจนถึงปลียอด เจดีย์หลวง(ราชกุฎี) วัดเจดีย์หลวงโชติการาม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๑๙๕๔ ในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมา แต่ยังไม่สำเร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน พระมเหสีของพระองค์โปรดให้สร้างต่อจนแล้วเสร็จในรัชกาลของพระเจ้าสามฝั่งแกน เจดีย์องค์เดิมน่าจะมีห้ายอด ต่อมาราวพ.ศ. ๒๐๐๒ พระเจ้าติโลกราชโปรดให้หมื่นค้ำพร้าคตปฏิสังขรณ์แปลงแบบเดิมโดยขยายขนาดของเจดีย์ เอาศิลาแลงมาเสริมฐานและทำรูปช้าง ๒๘ ตัวโผล่จากผนังทั้งสี่ของฐานประทักษิณ และเปลี่ยนแปลงส่วนบน ซึ่งตำนานระบุว่าโปรดให้ “มีระเบียบกระพุ่มเดียว” และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์เจดีย์ เจดีย์องค์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่กลางเมืองเชียงใหม่ ฐานประทักษิณสูง จึงมีบันไดทางขึ้นสี่ด้าน แต่คราวบูรณะในอดีตครั้งหนึ่งได้ปิดขั้นบันไดทางขึ้น ปัจจุบันบูรณะเหลือบันไดทางขึ้นเฉพาะด้านตะวันออก เหนือฐานประทักษิณเป็นเรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม กลางด้านทั้งสี่มีซุ้มจระนำ จระนำด้านตะวันออกเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าติโลกราชโปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองลำปาง(เขลางค์) เหนือเรือนธาตุควรเป็นทรงระฆังตั้งบนชุดของชั้นแปดเหลี่ยม มีบัลลังค์ ปล้องไฉนและปลี ต่อมาในสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ. ๒๐๕๕ โปรดให้ห่อหุ้มองค์เจดีย์หลวงด้วยทองคำ และในพ.ศ. ๒๐๘๘ สมัยพระนางจิรประภามหาเทวีได้เกิดแผ่นดินไหว ยอดเจดีย์หักพังลงมา ในสมัยพระไชยเชษฐาซึ่งเสด็จมาจากล้านช้าง เมื่อพระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชย์ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทจากพระราชวังมานมัสการพระเจดีย์องค์นี้ด้วย เจดีย์เชียงมั่น วัดเชียงมั่น ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า เมื่อพญาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้วเสร็จในพ.ศ. ๑๘๓๙ พระองค์ได้เสด็จจาก
เวียงเชียงมั่นหรือเวียงเหล็กเข้าไปประทับในพระราชวังที่สร้างขึ้นใหม่ และจากจารึกวัดเชียงมั่นซึ่งเป็นจารึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเป็นสัมพันธไมตรีระหว่างกษัตริย์สามพระองค์คือ พญามังรายแห่งเมืองเชียงใหม่ พญาร่วงแห่งเมืองสุโขทัย และพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ยังกล่าวถึงวัดเชียงมั่นว่า พญามังรายโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นในที่ประทับของพระองค์ และสถาปนาเป็นวัดเรียกว่า วัดเชียง11มั่น ต่อมาเจดีย์คงพังลง ในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชจึงโปรดให้สร้างเจดีย์ใหม่ในปีพ.ศ. ๒๐๑๔ ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ที่มุมและด้านมีรูปช้างครึ่งตัวโผล่ออกมารวม ๑๕ ตัว เรือนธาตุสี่เหลี่ยมยกเก็จ มีจระนำด้านละ ๓ จระนำ เหนือเรือนธาตุเป็นชั้นหลังคาลาดที่ซ้อนลดขึ้นไปรับชั้นบัวถลาแปดเหลี่ยมซึ่งรองรับองค์ระฆัง บัลลังก์ ปล้องไฉนและปลียอด เค้าโครงของเจดีย์องค์นี้อาจใช้เป็นข้อสันนิษฐานส่วนยอดของเจดีย์หลวงที่พังทลายได้ เจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช วัดมหาโพธาราม(วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้ายอดเชียงราย ราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราชเมื่อพ.ศ. ๒๐๕๔ เพื่อบรรจุอัฐิของพระอัยกา ด้วยวัดมหาโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๑๙๙๘ และต่อมาในปีพ.ศ. ๒๐๐๐ พระองค์ก็ได้โปรดให้ใช้วัดนี้เป็นที่ประชุมสังคยนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ ด้วย ลักษณะเจดีย์เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยม เรือนธาตุยกเก็จเป็นมุมขนาดเล็ก มีจระนำทั้งสี่ด้าน เหนือเรือนธาตุเป็นหลังคาเอนลาด เหนือขึ้นไปเป็นชุดฐานบัวในผังกลมรองรับองค์ระฆัง ปล้องไฉนและปลี ภายในวัดเจ็ดยอดยังมีเจดีย์ทรงปราสาทอื่นๆที่สำคัญอีกเช่น เจดีย์แปดเหลี่ยมขนาดเล็กที่เรียกว่า อนิมิสเจดีย์ สร้างขึ้นในคราวเดียวกับวิหารเจ็ดยอดสมัยพระเจ้าติโลกราช และเจดีย์กู่พระแก่นจันทร์ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เจดีย์วัดโมลีโลก (วัดโลกโมฬี) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏชื่อครั้งแรกในสมัยพระเจ้ากือนา เมื่อพระองค์โปรดให้ไปอารธนาพระมหาอุทุมพรบุปผามหาสวามีจากเมืองพันให้มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่เมืองเชียงใหม่ แต่พระมหาอุทุมพรได้จัดส่งคณะสงฆ์ ๑๐ รูปมาแทน พระเจ้ากือนาโปรดให้จำพรรษาที่วัดโลก ต่อมาพ.ศ. ๒๐๗๐ ในสมัยพระเมืองแก้วโปรดให้สร้างวิหารและเจดีย์ขึ้น และเมื่อพระเมืองเกษเกล้าถูกปลงพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๘๘ ก็ได้นำอัฐิมาบรรจุไว้ที่เจดีย์นี้ด้วย ต่อมาพ.ศ. ๒๑๒๑ พระนางวิสุทธิเทวี ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ทิวงคต ได้มาทำการถวายพระเพลิงและบรรจุอัฐิไว้ที่วัดนี้เช่นกัน เจดีย์วัดโมลีโลกลักษณะเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนสามชั้น เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่รองรับเรือนธาตุสี่เหลี่ยม มีจระนำทั้งสี่ด้าน เรือนธาตุมีมุมขนาดเล็กๆหลายมุม ที่ผนังมีรูปเทวดาปูนปั้นประดับด้านละสององค์ เหนือเรือนธาตุเป็นชุดชั้นหลังคา รองรับองค์ระฆังสิบสองเหลี่ยม
๑.๒ เจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกาหรือทรงระฆัง
เจดีย์ทรงนี้มีวิวัฒนาการมาตลอดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ (แต่แรกสร้างเมือง) มาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และได้กลายเป็นแบบแผนของเจดีย์ล้านนาโดยเฉพาะ ระยะแรกลักษณะเจดีย์ปรับปรุงมาจากเจดีย์แบบหนึ่งในศิลปะพุกาม มีลักษณะคือ ฐานบัวในผังกลมสามฐานซ้อนลดหลั่นกันรองรับองค์ระฆังใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์สี่เหลี่ยม และส่วนยอดคือปล้องไฉนและปลี เจดีย์ในระยะนี้เช่น เจดีย์ที่วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ เมืองเชียงใหม่ ต่อมามีพัฒนาการคือ มีฐานเก็จเพิ่มรองรับฐานบัวสามชั้นที่ยืดสูงขึ้น และองค์ระฆังเล็กลง ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะคงอยู่ตลอดไปในศิลปะล้านนา เจดีย์ที่สำคัญในระยะนี้เช่น เจดีย์วัดพระบวช เมืองเชียงแสน เจดีย์ทรงระฆังปรับรูปแบบถึงจุดสูงสุดในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช มีด้วยกัน ๒ แบบคือ เจดีย์ทรงระฆังที่มีชุดฐานบัวรองรับแบบเดิมแต่ความสูงของทรงเจดีย์จะมีมากขึ้น เช่นเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย เมืองลำพูน เจดีย์ร้างข้างหอประชุมติโลกราช เมืองเชียงใหม่ เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เมืองน่าน และแบบที่สองคือ เจดีย์ทรงระฆังที่ทรงไม่เพรียวสูง มีฐานบัวถลามารับองค์ระฆังแทนฐานบัว องค์ระฆังป้อม ปากระฆังผายกว้าง เช่นเจดีย์พระธาตุลำปางหลวง เจดีย์วัดพระแก้วดอนเต้า เมืองลำปาง เจดีย์ทั้งสองแบบซึ่งเดิมเป็นเจดีย์ในผังกลม ในที่สุดก็เปลี่ยนมานิยมผังแปดเหลี่ยม หรือสิบสองเหลี่ยม ซึ่งองค์ระฆังกลมก็ปรับเปลี่ยนเป็นทรงเหลี่ยมตามไปด้วย เช่นเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ เจดีย์วัดชมพู วัดหมื่นคำดวง วัดดวงดี วัดเชษฐา เมืองเชียงใหม่ เป็นต้น กำหนดอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หลังยุคทองล้านนา รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังที่สร้างใหม่ ได้รับอิทธิพลเจดีย์แบบพม่า เช่น เจดีย์วัดบุปผาราม เมืองเชียงใหม่ และเจดีย์พระธาตุแช่แห้งน้อย เมืองน่าน เป็นต้น
เจดีย์วัดอุโมงค์ วัดอุโมงค์ (วัดอุโมงค์เถรจันทร์ หรือวัดเวฬุกัฏฐาราม) ตำบลดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าเม็งราย อาจมีชื่อเดิมว่าวัดไผ่เจ็ดกอ งานก่อสร้างเดิมเป็นทรงระฆังหรือทรงปราสาทก็ได้ ต่อมาได้รับการบูรณะในรัชกาลของพระเมืองแก้ว ลักษณะเป็นเจดีย์ในผังกลม มีฐานบัวสามชั้นรองรับองค์ระฆังใหญ่ ที่ท้องไม้ของฐานแต่ละชั้นประดับด้วยแถวช่องสี่เหลี่ยมโดยรอบคล้ายเจดีย์แบบหนึ่งของพุกาม(เจดีย์ฉปัฎหรือสัปตเจดีย์) เจดีย์วัดพระบวช วัดพระบวช ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สันนิษฐานว่าพระเจ้ากือนา ราชบุตรพระเจ้าผายูทรงโปรดให้สร้างเมื่อราวพ.ศ. ๑๘๘๗ ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ กล่าวว่า “ส่วนพระยาผายูตนพ่อนั้นท่านลงไปกินเมืองเชียงใหม่ ในศักราชได้ ๗๐๘ ตัวปีเมิงไค้เดือน ๖ เพ็ญวันพุธ มหามูลศรัทธาพระราชเจ้ากือนา สร้างพระเจดีย์และวิหารพระพุทธรูปพระบวช กลางเวียงไชยบุรีเชียงแสนที่นั้นแล้ว ก็ฉลองทำบุญให้ทานบริบูรณ์ในวันนั้นแล “ และในพงศาวดารโยนกยังกล่าวถึงว่า ราวพ.ศ. ๒๒๖๐ เกิดน้ำท่วมเมืองเชียงแสน วัดนี้ทรุดจมดิน ลักษณะเจดีย์คลี่คลายจากเจดีย์วัดอุโมงค์ คือฐานบัวในผังกลมสามชั้นซ้อนลดหลั่นกัน แต่ชุดฐานยืดสูงขึ้น องค์ระฆังเล็กลง รองรับปล้องไฉนและปลียอด ชุดฐานตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่พัฒนาขึ้นในศิลปะล้านนา
เจดีย์วัดสวนดอก วัดสวนดอก (วัดบุปผาราม) ตำบลดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดสวนดอกสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๑๙๑๕ ในสมัยพระเจ้ากือนา เพื่อเป็นที่จำพรรษาของพระสุมนเถระพระภิกษุชาวสุโขทัย ซึ่งกลับมาจากการศึกษาพุทธศาสนาที่เมืองมอญ พระสุมนเถระเดินทางจากสุโขทัยขึ้นมาจำพรรษาที่เมืองลำพูนก่อนแล้วจึงมาเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับการสร้างวัดสวนดอกพระเจ้ากือนาก็โปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมธาตุที่พระสุมนเถระนำมาด้วย ลักษณะเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณสูง มีประตูซุ้มสี่ทิศ องค์ระฆังมีขนาดใหญ่ยืดสูงคล้ายทรงกระบอก อาจเกิดจากเอาแบบอย่างองค์ระฆังขนาดใหญ่แบบสุโขทัย หรือ ลักษณะเจดีย์ฉปัฏ (Chapata) ของเมืองพุกามมาใช้ มีเจดีย์ทิศแปดองค์ เดิมเจดีย์ทิศมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย แต่ต่อมาได้รับการบูรณะเปลี่ยนแปลงให้เหมือนกับเจดีย์ประธานในสมัยหลัง เจดีย์ประธานวัดพระธาตุหริภุญไชย วัดพระธาตุหริภุญไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เชื่อกันว่าเจดีย์องค์เดิมสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าอาทิตยราช สมัยหริภุญไชย เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทเพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุ ต่อมามีการบูรณะในสมัยพระเจ้าเม็งราย และได้รับการเปลี่ยนเป็นเจดีย์ทรงระฆังครอบเจดีย์องค์เดิมในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช ลักษณะเป็นเจดีย์คล้ายวัดพระบวช แต่คลี่คลายให้ทรงสูงชลูดขึ้น ประกอบด้วยฐานยกเก็จ รองรับฐานบัวในผังกลมสามชั้น รองรับองค์ระฆัง บัลลังค์ ปล้องไฉนและปลียอด เจดีย์ประธานวัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาเมื่อพ.ศ. ๑๙๒๕ เพื่อบรรจุพระบรมธาตุที่พระสุมนเถระนำมา องค์หนึ่งบรรจุที่วัดสวนดอก อีกองค์หนึ่งบรรจุที่วัดนี้ ต่อมาได้รับการเสริมให้ใหญ่ขึ้นในรัชกาลพระเมืองเกษเกล้าราวพ.ศ. ๒๐๘๑ และการบูรณะการหุ้มองค์เจดีย์ด้วยทอง “จังโก” มาเสร็จสิ้นลงในรัชกาลพระเจ้าเมกุฏิในราวพ.ศ. ๒๑๐๐ รูปแบบเจดีย์ปัจจุบันคงเป็นงานในสมัยพระเมืองเกษเกล้า เป็นลักษณะเจดีย์ยุคทองสุดท้ายของล้านนา คือฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จแบบเดิม ต่อด้วยฐานบัวคล้ายบัวถลาหลายชั้นในผังสิบสองเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นรองรับองค์ระฆังขนาดเล็กและบัลลังค์สิบสองเหลี่ยมเช่นกัน เหนือขึ้นไปเป็นปล้องไฉน ปลีและฉัตร
๒. โบสถ์และวิหาร
โบสถ์และวิหารล้านนามีลักษณะคล้ายกัน แต่ความสำคัญจะเน้นที่วิหารมากกว่าคือจะมีขนาดใหญ่ มักตั้งอยู่หน้าสถูปเจดีย์หรือพระธาตุ ลักษณะโบสถ์และวิหารเกิดจากการผสมผสานระหว่างรูปแบบศิลปะพื้นบ้านและรูปแบบศิลปะต่างถิ่นจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตน โดยทั่วไปมักใช้ไม้เป็นโครงหลังคาจึงมีอายุงานจำกัดดังนั้นโบสถ์และวิหารที่ยังคงสภาพใช้งานตามวัดต่างๆในปัจจุบันล้วนได้รับการสร้างใหม่หรือมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา
ลักษณะโบสถ์วิหารพื้นบ้าน เป็นอาคารทรงโรงขนาดเล็ก ฐานเตี้ยหรือราบติดดิน หลังคาชั้นเดียว หน้าต่างเล็กมาก ประตูเข้าออกทางเดียวเช่น อุโบสถน้อยวัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่างถิ่นโดยเฉพาะกับสุโขทัย จึงเกิดการผสมผสานรูปแบบจนกลายเป็นแบบล้านนาที่สวยงาม และในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ ๕-๖ ยังมีวิหารอีกรูปแบบหนึ่งเกิดขึ้นเรียกกันว่าวิหารแบบพม่า แต่อย่างไรก็ตามยังมีวิหารแบบพิเศษที่ก่อด้วยศิลาแลงที่รู้จักกันดีคือวิหารเจ็ดยอด (บางทีเรียกเจดีย์เจ็ดยอด) วัดมหาโพธาราม เมืองเชียงใหม่ ลักษณะเป็นวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนบนมีเจ็ดยอด ยอดประธานและยอดบริวารประจำทิศก่อเป็นทรงศิขร ส่วนอีกสองยอดด้านหน้าเป็นยอดทรงระฆัง คงได้รับอิทธิพลจากวิหารมหาโพธิ์ที่เมืองพุกาม ซึ่งมีต้นแบบจากมหาวิหารพุทธคยาในรัฐพิหารประเทศอินเดียอีกทอดหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชเมื่อพ.ศ. ๒๐๒๐
ซึ่งโบสถ์และวิหารแบบล้านนาแต่ละพื้นที่จะมีรูปแบบเฉพาะตัว แยกเป็นหลายสกุลช่างเช่น สกุลช่างพะเยา สกุลช่างลำปาง สกุลช่างน่าน สกุลช่างเชียงใหม่ เป็นต้น แต่โดยทั่วไปจะมีลักษณะที่ร่วมกันคือ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดตามแนวยาว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลังคาซ้อนลดหลั่นกัน๒-๓ชั้นและทิ้งจังหวะเป็นระยะตามการย่อมุม (ยกเก็จ) ของผนังอาคาร ฐานไม่สูงนัก มีบันไดด้านหน้า ราวบันไดเป็นตัวพญานาคขึ้นสู่ประตูหน้าที่มักมีเพียงประตูเดียว หรือมีประตูข้างด้านทิศใต้สำหรับพระสงฆ์เข้าภายในวิหารอีกหนึ่งประตู ประตูหน้าทำเป็นประตูซุ้มยอดปราสาทที่ทางเหนือเรียกว่า "โขง" (ปรับปรุงมาจาก โขงประตูวัดในอดีต) ผนังวิหารมีทั้งก่อด้วยอิฐหรือก่อด้วยอิฐครึ่งไม้ มีช่องหน้าต่างน้อยและมีขนาดเล็กเพื่อให้สอดคล้องกับภูมิอากาศที่หนาวเย็นหรือเพื่อให้มีบรรยากาศทางศาสนา นอกจากนี้วิหารโถงหรือวิหารแบบไม่มีผนังก็เป็นที่นิยมเช่นกัน หลังคาโบสถ์วิหารมุงด้วยกระเบื้องไม้ที่เรียกว่าแป้นเกล็ด โครงหลังคาทั้งหมดมักทอดคลุมลงมาต่ำเตี้ยมาก มีการประดับตกแต่งอาคารในส่วนต่างๆเช่น ประตู หน้าจั่ว ค้ำยันหรือหูช้างและหน้าต่างจะสลักไม้ฉลุลายเป็นลวดลายต่างๆทั้งตามแบบธรรมชาติและลายประดิษฐ์และรูปสัตว์ในความเชื่อเช่น นาค มังกร สิงห์ หงส์ ตัวอย่างเช่น วิหารวัดพันเตา วิหารโถงวัดบุปผาราม (สวนดอก) วิหารลายคำวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ วิหารน้ำแต้ม ( “น้ำแต้ม” เป็นคำเรียกภาพจิตรกรรมฝาผนังของทางเหนือ) วิหารโถงวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง เป็นต้น
ศิลปะเชียงแสน Chiang San Art
| |||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | ||||||||||||||||||||
โยนก- เชียงแสน ( ประมาณ พ.ศ. 1300-2089 )
ศิลปแบบโยนก-เชียงแสน เรียกตามชื่อเมืองโยนกเชียงแสนซึ่งปรากฏทรากเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงท้องที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย ในปัจจุบัน เมืองดังกล่าวนี้ เคยเป็นราชธานีและเมืองสำคัญของไทยในสมัยแรกที่ตั้งมั่นขึ้นในสุวรรณภูมิตาม ความเป็นจริงแล้วคนไทยที่มาตั้งมั่นอยู่ในแถบนี้ได้โยกย้ายบ้านเมืองและสร้างราชธานีหลายหนเพราะเหตุที่มีอุทกภัยน้ำในแม่น้ำโขงไหลบ่าขึ้นมาท่วมบ้านเมืองเสียหายบ่อยๆคำว่าโยนกเชียงแสนที่กล่าวในที่นี้จึงกล่าว เพื่อความสะดวกในการกำหนดเรียกชื่อศิลปกรรมแบบที่สร้างในระยะที่โยนก( เมืองสมัยก่อนเชียงรายราว พ.ศ.1300-1600)และเชียงแสนเป็นราชธานี(พ.ศ.16001800)ตลอดจนมาถึงเชียงใหม่เป็นราชธานีของ อาณาจักรล้านนาในชั้นหลังด้วยซึ่งศิลปกรรมลักษณะนี้ปรากฏแพร่หลายอยู่ในจังหวัดต่างๆทางภาคเหนือของ ประเทศไทยตำราทางศิลปส่วนใหญ่จะเรียกศิลปกรรมแบบนี้ว่า "เชียงแสน"เท่านั้นแต่เนื่องด้วยศิลปกรรมที่สร้าง ในสมัยโยนกมีการบูรณะซ่อมกันมาตลอดในสมัยเชียงแสน ลัทธิศษสนาสมัยต้นที่ไทยเข้ามาครอบครองแค่ว้นนี้ ได้แก่พระพุทธศาสนามหายานนิกายต่าง ๆ ระยะ พ.ศ. 1300-1600 พุทธศษสนามหายานรุ่งเรืองมากทั่วอินเดีย และแพร่ไปยังธิเบตเนปาล จีน ญี่ปุ่น ขอม และชวา ศิลปะแบบอินเดียใต้ก็เข้ามาด้วย ทำให้ศิลปะแบบโยนก-เชียงแสน ได้รับอิทธิพลคลุกเคล้าจนปรากฏแบบอย่างขึ้นมากมายซึ่งอาจจำแนกอย่างหยาบ ๆ ตามอิทธิพลที่ได้รับเป็น 5 แบบ คือ 1. แบบโยนก เชียงแสน อิทธิพลสกุลศิลปปาละวะ ดีในลานนา 2. แบบโยนก-เชียงแสน อิทธพลสกุลศิลปปาละ-เสนา 3. แบบโยนก-เชียงแสน สกุลอินเดียใต้ 4. แบบโยนกเชียงแสนอิทธิพลศิลปแบบทวาราวดี5. แบบเชียงแสนแท้ | |||||||||||||||||||||
- พระพิมพ์ ในกรอบทององค์นี้มวลเบา เคลือบรักอีกที พลังอ่อนนุ่ม แต่ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไร ของทางเหนือ ...ได้มาจากคนไข้ใน รพ.ที่เชียงใหม่ (รวมกรอบทอง) - หนังเสือที่อยู่ในกรอบเงิน (กรอบอีกด้าน...แตกตอนไหนก็ไม่รู้) แรงดีจริงๆ ...ได้มาจากหลวงปู่...วัดพระธาตุช่อแฮ (ประจำปีขาล) จ.แพร่ (ปกติหลวงปู่องค์นี้ ไม่มอบของขลังให้ใคร:จากการบอกเล่าของสามเณรในวัด) - ของสองสิ่งนี้เป็นสมบัติของน้องสาวคนหนึ่ง ที่มีเรื่องราวแปลกๆกับตัวเธอหลายอย่างในอีกมิติหนึ่ง - การได้มาครอบครอง ก็ไม่ต้องซื้อหา/บูชามา แต่ท่านมอบให้เปล่าๆ ปล: ไม่ได้นับถือพุทธ 100% แต่เหน็บพระ หุหุ |
ศิลปะสมัยเชียงแสน – โยนก พ.ศ.16-20 หรือศิลปะล้านนาไทย
เรียกตามชื่อเมืองโยนกเชียงแสนซึ่งปรากฏทรากเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงท้องที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน เมืองดังกล่าวนี้ เคยเป็นราชธานีและเมืองสำคัญของไทยในสมัยแรกที่ตั้งมั่นขึ้นในสุวรรณภูมิตามความเป็นจริงแล้วคนไทยที่มาตั้งมั่นอยู่ในแถบนี้ได้โยกย้ายบ้านเมืองและสร้างราชธานีหลายหนเพราะเหตุที่มีอุทกภัยน้ำในแม่น้ำโขงไหลบ่าขึ้นมาท่วมบ้านเมืองเสียหายบ่อยๆคำว่าโยนกเชียงแสนที่กล่าวในที่นี้จึงกล่าวเพื่อความสะดวกในการกำหนดเรียกชื่อศิลปกรรมแบบที่สร้างในระยะที่โยนก( เมืองสมัยก่อนเชียงรายราวพ.ศ.1300-1600)และเชียงแสนเป็นราชธานี(พ.ศ.16001800)ตลอดจนมาถึงเชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาในชั้นหลังด้วย
ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน มีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดี และลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะ ล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อ พญามังราย ได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่ เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเว
| ||||||||||||||||||||
ประติมากรรมไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประติมากรรมไทย หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ
ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย
สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ (ศิลปะประเภทนี้จะเรียกว่า ปฏิมากรรม) ตุ๊กตาภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไปตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุลช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่างๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป เนื่องจากเป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างประณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่าง ศักดิ์สิทธิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่างๆ สามารถลำดับได้ดังนี้
- ศิลปะทวารวดี
- ศิลปะศรีวิชัยอาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18 ) อยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยู่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีนิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตาม ลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกาย อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน
[แก้]ศิลปะลพบุรีศิลปะลพบุรี(พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) มีอาณาเขตครอบคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของชนชาติขอม แต่เดิมเป็นศิลปะขอม แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ
- ศิลปะลพบุรี
ศิลปะสุโขทัย
พุทธศตวรรษที่ 17 - 20อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นราชธานีที่มีความชัดเจนเป็นครั้งแรกของชนเผ่าไทยสยาม ศิลปะสุโขทัยจึง นับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย แต่ไม่ใช่แรกสุดเพราะก่อนหน้านั้นมีศิลปะที่ใกล้เคียงกับศิลปะสุโขทัยมาก คือ ศิลปะเชียงแสน ริมแม่น้ำโขงในแถบจังหวัดเชียงราย ศิลปะสุโขทัยผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์ คลี่คลาย สังเคราะห์ในแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่น มั่นคงจนได้รูปแบบที่งดงาม พระพุทธรูปสุโขทัย ถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง อุดมคติของพระพุทธรูปสุโขทัยเกิดจากต้นแบบศิลปะที่ส่งอิทธิพลต่อช่างสมัยนั้นด้วย คือ อิทธิพลศิลปะจากศรีลังกาและอินเดีย ลักษณะ สำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง เส้นรอบนอกโค้งงาม ได้จังหวะ พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่ง รับกับ พระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลา รูปเปลวเพลิง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย ไม่มีไร พระศก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห ์พระศาสดา พระพุทธไตรรัตนายก และ พระพุทธรูปปางลีลา นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังมี งานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องสังคโลกซึ่งเป็นเครื่อง ปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้น ดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใส เขียนทับลายเขียนรูปต่าง ๆ มี ผิวเคลือบแตกราน สังคโลกเป็นสินค้าออก ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยที่ ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต จนถึงฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น[แก้]ศิลปะเชียงแสน
เมื่อแคว้นล้านนาในภาคเหนือได้สถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นนครหลวงเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ หลังจากได้รวมเอาแคว้นหริภุญไชยเข้าไว้ด้วยแล้ว ได้มีการสร้างสรรค์ศิลปะไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเดิมเรียกว่า“ศิลปะเชียงแสน” ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “ศิลปะล้านนา” อันหมายถึงรูปแบบศิลปะที่กระจายอยู่ในภาคเหนือตอนบนตั้งแต่จังหวัดตาก แพร่ น่าน ขึ้นไปตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่๒๒ เป็นต้นมา ล้านนาพบกับการแตกแยกภายในการแก่งแย่งชิงอำนาจกันเอง ภัยจากภายนอกที่เข้ามาแทรกแซงทั้งจากพม่ากรุงศรีอยุธยาและล้านช้าง ทำให้อำนาจอิสระที่คงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแคว้นล้านนาล่มสลายลง ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสนเป็นประติมากรรมในดินแดนสุวรรณภูมิที่นับว่าสร้างขึ้นโดยฝีมือช่างไทยเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-21 มีปรากฏแพร่หลายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือของไทย แหล่งสำคัญอยู่ที่เมืองเชียงแสนวัสดุที่นำมาสร้างงานประติมากรรมที่ทั้งปูนปั้นและโลหะต่างๆที่มีค่าจนถึงทองคำบริสุทธิ์ประติมากรรมเชียงแสนแบ่งได้เป็น2 ยุค เชียงแสนยุคแรก มีทั้งการสร้างพระพุทธรูปและภาพพระโพธิสัตว์หรือเทวดาประดับศิลปสถาน พระพุทธรูปโดยส่วนรวมมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปอินเดียสมัยราชวงปาละ มีพระวรกายอวบอ้วนพระพักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระนาสิกโค้งงุ้ม พระโอษฐ์แคบเล็ก พระห นุเป็นปมพระรัศมีเหนือเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ไม่นิยมทำไรพระสก เส้นพระสกขมวดเกษาใหญ่พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น ตรงปลายมีลักษณะเป็นชายธงม้วนเข้าหากัน เรียกว่า เขี้ยวตะขาบส่วนใหญ่นั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยฐานที่รององค์ พระทำเป็นกลีบบัวประดับ มี ทั้งบัวคว่ำบัวหงาย และทำเป็นฐานเป็นเขียงไม่มีบัวรองรับ ส่วนงานปั้นพระโพธิสัตว์ประดับเจดีย์วัดกู่เต้าและภาพเทวดาประดับหอไตรวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ มีสัดส่วนของร่างกาย สะโอดสะองใบหน้ายาวรูปไข่ทรงเครื่องอาภรณ์เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ในศิลปะแบบปาละเสนะของอินเดียหรือแบบ ศรีวิชัย เชียงแสนยุคหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีแบบของลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยเข้ามาปะปนรูปลักษณะโดยส่วนรวมสะโอดสะ องขึ้น ไม่อวบอ้วนบึกบึน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากขึ้นพระรัศมีทำเป็นรูปเปลว พระศกทำเป็นเส้นละเอียดและมีไรพระศกเป็น เส้นบาง ๆชายสังฆาฏิ ยาวลงมาจรดพระนาภี พระพุทธรูปโดยส่วนรวมนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดและถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดพระพุทธสิหิงค์ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯพระพุทธรูปเชียงแสนนี้มักหล่อด้วยโลหะทองคำ และสำริด - ศิลปะล้านนา
ศิลปะอู่ทอง
พุทธศตวรรษที่ 17 - 20อาณาจักรอู่ทอง เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความ สัมพันธ์กับอาณาจักรต่าง ๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำ เป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง พระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็น แบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัยศิลปะรัตนโกสินทร์
พุทธศตวรรษที่ 25 - ปัจจุบัน ศิลปะรัตนโกสินทร์ในตอนต้น เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยา ไม่ว่าจะเป็น การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ เครื่องเงิน เครื่องทอง การสร้างพระพุทธรูป ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการ ของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ มากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา หลังจากการเสด็จประ พาสยุโรปทั้ง 2 ครั้งของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่าง ของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย ทำให้ศิลปะไทยแบบ ประเพณี ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทย แบบร่วมสมัย ในที่สุด ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้น เช่น พระศรีศากยทศพลญาณ ฯพระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัยเข้ากับความ เหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์ประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน
ภาพประกอบจาก Internet
พระพุทธรูปเชียงแสนถือกำเนิดขึ้นที่เมืองเชียงแสนทางภาคเหนือของไทย ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๑ ลักษณะงดงามน่าเกรงขามมากดุจพญาสิงหราช จึงได้นามว่าสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง สิงห์สาม
ได้มีนักวิชาการสันนิษฐาน 2 กรณี ว่าได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด กรณีแรกถือว่าได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดีย พบมากในทางภาคเหนือของไทย เช่น พระพุทธรูปหินปางทรมานช้างนาฬาคีรี ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ กรณีที่สองว่าได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปสมัยคุปตะของอินเดีย
ยุคเดียวกับพระพุทธรูปศรีวิชัย เนื่องจากพบพระพุทธรูปเชียงแสนที่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะศรีวิชัย
ศิลปะปาละอาจมีส่วนเกี่ยวข้องบ้างโดยเฉพาะฐานที่ทำด้วยบัวแบบต่างๆ นอกจากนี้ศิลปะเชียงแสนได้ขยายออกไป 2 ทาง ทางตะวันตก(ล้านนา) ทางใต้(สุโขทัย) เมื่อสุโขทัยเจริญขึ้นก็กลับมีอิทธิพลกลับมาทางเชียงใหม่ และเชียงรายทำให้พระพุทธรูปได้ถูกแบ่งเป็นรุ่น
โดยรุ่นแรกเป็นศิลปะของเชียงแสนโดยแท้ลักษณะที่ลำคัญคือ
พระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์สั้นกลม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม พระอุระนูน พระรัศมีรูปบัวตูมหรือเป็นต่อมกลม ชายจีวรสั้น และบางแนบเนื้อ พระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นแรกมักเรียกว่า สิงห์หนึ่ง รุ่นกลางเรียกสิงห์สอง รุ่นหลังเรียก สิงห์สาม
สำหรับพระพุทธรูปในรุ่นถัดมาจะมีลักษณะแข็งกระด้าง ขาดความอ่อนหวานนุ่มนวล พระวรกายผอมชะลูดไม่สมส่วน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่ ชายสังฆาฏิยาว พระพุทธรูปที่กำเนิดขึ้นรุ่นหลังนี้เช่น
พระหริภุญชัยโพธิสัตว์และพระพุทธรูปเชียงแสนพระรุ่นหลังนี้ยังได้เป็นต้นแบบต่อไป จนถึงราชอาณาจักรลาวในปัจจุบัน
แหล่งที่มา : พระพุทธรูป, วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียงศิลปะเชียงแสน ARCHIVE